Note: Thai language version of article is lower down หมายเหตุ: บทความภาษาไทยอยู่ด้านล่าง

It has been a long time coming for a new start-up carrier in Thailand to get off the ground.

Unfazed by the lingering COVID effects, but taking heart from the beginning of the recovery in air travel, Thai Summer Airways (TSA) is poised to take to the skies finally as early as the end of July.

The new airline was aiming to launch three years ago, but the arrival of the pandemic in 2019 delayed its launch.

But the Thai-registered carrier, owned by Thai and Chinese firms with a background in tour and travel businesses, refrained from calling it quits when COVID-19 decimated the global aviation industry, and continued to get ready for take-off.

“Thai Summer will be up and running in this year’s third quarter with our inaugural flight set to occur by the end of July,” TSA CEO Akkarapat Leechotphaisan tells the Smart Aviation Asia Pacific.

TSA will be Thailand’s first start-up airline to begin flying in more than five years, joining eight incumbent Thailand-registered airlines which are still reeling from the COVID-induced storms.

While many raised their eyebrows about the launch of a new airline in the unprecedented difficult times, TSA has been undaunted and continued to prepare all the ground work to meet regulatory and operational requirements.

TSA was established in early 2018, obtaining the air operator certificate (AOC) from the Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT) in September 2020. It had also acquired aircraft and hired pilots, cabin crew and ground staff.

Akkarapat, 43, says TSA has worked ‘non-stop’ over the last couple of years to get ready in every respect for the launch.

The opening of borders in many Asian countries and the gradual revival of pent-up air travel demand have presented a good opportunity for TSA to get off the ground.

TSA looks set to start flying charter services initially to Hong Kong and Taipei from its base at the Pattaya’s U-Tapao International Airport in the eastern coast province of Rayong with its sole Boeing 737-800.

Fleet expansion

The airline expects to receive its second narrowbody aircraft, the same type and 180-seat capacity, by year-end to support the planned flight ramp-up.

The acquisition of a third 737-800 is planned for next year’s second quarter when its operations gain impetus, says the Thai executive who has previously worked in tour-related businesses.

TSA’s B737-800 set to take to the skies (Photo: TSA)

Becoming LCC 

TSA will start as a charter operator before moving up to provide scheduled flights as a low-cost carrier operating between Thailand and Asian countries, says Akkarapat.

He says TSA will spread its wings cautiously as not to exhaust its resources and means given that air travel demand will take time to really rebound.

The airline would also like to grow modestly, but consistently to prove to CAAT that it is qualified for a license to operate scheduled services, he adds.

The airline’s current AOC is for charter flights, which has less stringent requirements than a scheduled AOC.

But TSA has shown strong intention to become a fully-fledged airline by capitalising with 200 million baht (US$5.88 million) as required by CAAT for scheduled airlines whereas a charter operator needs only 50 million baht in registered capital.

It had acquired two Boeing 737-800s about two years ago which ended up sitting idle at a Thai airport during the height of the pandemic.

These two aircraft were returned to the lessor before TSA began to secure younger replacement aircraft.

TSA has asked nearly 100 employees, including 16 cockpit and 30 cabin staff, recruited years ago and many were on furlough, to report back to work.

TSA cockpit staff has reported back to work (Photo: TSA)

In-bound traffic focus

The airline will be focussing on in-bound charter passenger traffic from Hong Kong, Macau, Taiwan, South Korea and Japan.

India and Sri Lanka are also on its radar, while Beijing, Shanghai and Guangzhou appear on its wish list when China reopens its shuttered borders — something that is not foreseen in the near future as Beijing remains firm on its zero COVID policy that curbs air travel.

Akkarapat insists TSA has never planned for China to be its initial source market, even before the pandemic.

“So we do not need to wait until China is opened to take to the skies,” he asserts, adding that only until TSA has a fleet of three 738-800s would it then set its sights on flying to mainland China.

The airline’s business plan sees 60% of its expected passenger traffic to be in-bound tourists from Asian countries which will be sourced by TSA’s tour operator owners.

Akkarapat reckons that it is imperative to get involved in both charter and scheduled operations to make TSA’s business viable in the longer term.

Cargo 

Though the airline’s focus is on passenger traffic, TSA will also engage in cargo business by moving Thai produce from Suvarnabhumi Airport, Thailand’s international gateway near Bangkok, overseas in the belly-hold and cabin, with no seats, of its 737-800s to generate revenue.

The airline will concentrate its passenger movements through U-Tapao and Suvarnabhumi for cargo operations.

It aims to have each of its 737-800s operating one flight a day to achieve 103,000 passengers per annum based on a load factor of over 80%.

Akkarapat expresses concern, however, about rocketing jet fuel prices, which have spiralled to over US$170 a barrel, as a major impediment to its business as fuel would now account for over 35% of its costs.

Featured photo shows TSA CEO Akkarapat Leechotphaisan: Ready for the launch. (Photo: TSA)

สัมภาษณ์พิเศษ: ไทยซัมเมอร์ แอร์เวย์ พร้อมทะยานสู่ท้องฟ้า ขณะที่การเดินทางทางอากาศฟื้นตัวอย่างช้าๆ

บุญส่ง โฆษิต

เป็นเวลานานแล้วที่ไม่มีสายการบินรายใหม่ในประเทศไทยที่จะเริ่มดำเนินการ

ไทยซัมเมอร์ แอร์เวย์ ไม่สะทกสะท้านกับผลกระทบจากโควิด-19ที่ยังคงอยู่ แต่ก็ได้รับกำลังใจจากการเริ่มฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศ ก็พร้อมที่จะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าในที่สุด อย่างเร็วที่สุดในปลายเดือนกรกฎาคมนี้

สายการบินใหม่นี้ตั้งเป้าที่จะเริ่มทำการบินเมื่อสามปีที่แล้ว แต่การมาถึงของโรคระบาดใหญ่ในปี 2562 ทำให้การเปิดตัวล่าช้าออกไป

แต่ ไทยซัมเมอร์ แอร์เวย์ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีบริษัทไทยและจีนที่มีพื้นฐานด้านธุรกิจท่องเที่ยวเป็นเจ้าของ ไม่ยอมหยุดเมื่อโควิด-19 ที่ได้ทำลายอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเตรียมพร้อมสำหรับการบินขึ้นแล้ว

“ไทยซัมเมอร์ จะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของเราจะเริ่มขึ้นภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม” อัครพัชร์ ลี้โชติไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยซัมเมอร์ แอร์เวย์ กล่าวกับ Smart Aviation Asia Pacific

ไทยซัมเมอร์ จะเป็นสายการบินเริ่มต้น (start-up) แห่งแรกของประเทศไทยที่เริ่มบินในรอบกว่า 5 ปี โดยเข้าสู่ธุรกิจการบินที่มีสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทย 8 แห่งดำเนินการอยู่ แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากพายุโควิด-19 ที่ยังโหมกระหน่ำอยู่

ในขณะที่หลายคนเลิกคิ้วด้วยความฉงนสนเท่ห์เกี่ยวกับการเปิดตัวสายการบินใหม่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไทยซัมเมอร์ ก็ไม่หวั่นไหว และยังคงเตรียมงานพื้นฐานทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และข้อกำหนดด้านการปฏิบัติงาน

ไทยซัมเมอร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี 2561 โดยได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ หรือ AOC (Air Operator Certificate) จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท) ในเดือนกันยายน 2563 นอกจากนี้ยังได้จัดหาเครื่องบิน ว่าจ้างนักบิน ลูกเรือ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน

อัครพัชร์ ในวัย 43 ปี กล่าวว่า ไทยซัมเมอร์ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเพื่อเตรียมพร้อมในทุกประการสำหรับการเปิดบิน

การเปิดพรมแดนในหลายประเทศในเอเชีย และการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของความต้องการการเดินทางทางอากาศที่ถูกกักไว้ ได้นำเสนอโอกาสที่ดีสำหรับ ไทยซัมเมอร์ ที่จะทะยานขึ้นจากภาคพื้นได้แล้ว

ไทยซัมเมอร์มุ่งมั่นจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังฮ่องกง และไทเปในขั้นต้น จากฐานปฏิบัติการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ด้วยโบอิ้ง 737-800 หนึ่งลำที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การขยายฝูงบิน

สายการบินคาดว่าจะได้รับมอบเครื่องบินลำตัวแคบลำที่สอง ซึ่งเป็นประเภทเดียวกันและมีความจุ 180 ที่นั่ง ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับการเพิ่มเที่ยวบินตามแผน ผู้บริหารชาวไทยซึ่งเคยทำงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว

เครื่องบิน B737-800 ของ ไทยซัมเมอร์ พร้อมที่จะทะยานสู่ท้องฟ้า

เปลี่ยนรูปเป็นสายการบินแบบประหยัด

ไทยซัมเมอร์ จะเริ่มจากการเป็นผู้ให้บริการเช่าเหมาลำก่อนที่จะขยับขึ้นเพื่อให้บริการเที่ยวบินแบบประจำตามกำหนดการในฐานะสายการบินต้นทุนต่ำที่ดำเนินการระหว่างประเทศไทยและประเทศในเอเชีย อัครพัชร์ กล่าว

เขากล่าวว่า ไทยซัมเมอร์ จะสยายปีกอย่างระมัดระวังเพื่อสงวนทรัพยากร และปัจจัย ในขณะที่ความต้องการการเดินทางทางอากาศยังต้องใช้เวลาฟื้นตัวจริงๆ

สายการบินต้องการที่จะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่สม่ำเสมอ เพื่อพิสูจน์ให้ กพท. เห็นว่ามีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับการได้รับใบอนุญาตเพื่อดำเนินการบริการแบบประจำ เขากล่าวเสริม

ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศของสายการบินที่ได้รับแล้วมีไว้สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวดน้อยกว่าใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศแบบประจำ

แต่ ไทยซัมเมอร์ ได้แสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะเป็นสายการบินเต็มรูปแบบ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (5.88 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามที่ กพท. กำหนดไว้สำหรับสายการบินแบบประจำ ในขณะที่ผู้ให้บริการเช่าเหมาลำต้องการทุนจดทะเบียนเพียง 50 ล้านบาท

บริษัทได้เคยจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 จำนวน 2 ลำเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งถูกจอดเฉยๆ ที่สนามบินไทยในช่วงที่มีการระบาดใหญ่

เครื่องบินสองลำนี้ถูกส่งกลับไปยังผู้ให้เช่าก่อนที่ ไทยซัมเมอร์ จะเริ่มจัดหาเครื่องบินทดแทนที่มีประวัติอายุใช้งานในอดีตที่น้อยกว่ามา

ไทยซัมเมอร์ ได้เรียกให้พนักงานเกือบ 100 คน รวมทั้งนักบิน 16 คน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 30 คน ที่ได้รับคัดเลือกเมื่อหลายปีก่อน และหลายคนต้องพักงาน รายงานกลับไปทำงาน

นักบิน ของ ไทยซัมเมอร์ กลับมาทำงานแล้ว

เน้นรับนักท่องเที่ยวขาเข้า

สายการบินจะเน้นไปที่การจราจรผู้โดยสารจากต่างประเทศ รวมทั้ง ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

อินเดีย และศรีลังกาก็อยู่ในจอเรดาร์เช่นกัน ขณะที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ปรากฏในแผนประสงค์ เมื่อจีนเปิดพรมแดนอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากปักกิ่งยังคงยึดมั่นในนโยบายโควิด-19เป็นศูนย์ ที่ยังควบคุมการเดินทางเข้าออกทางอากาศอย่างเข้มงวด

อัครพัชร์ ยืนกรานว่า ไทยซัมเมอร์ ไม่เคยวางแผนให้จีนเป็นตลาดแรกเริ่ม แม้กระทั่งก่อนการระบาดใหญ่

“ดังนั้นเราจึงไม่ต้องรอจนกว่าจีนจะเปิดเพื่อที่เราจะเริ่มบิน” เขากล่าวเสริมว่า จนกว่า ไทยซัมเมอร์ จะมีฝูงบิน 738-800 สามลำเท่านั้น จึงจะสามารถบินไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ได้

ตามแผนธุรกิจของสายการบิน 60% ของจำนวนผู้โดยสารที่คาดว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวขาเข้าจากประเทศในเอเชีย ซึ่งมาจากผู้ประกอบการทัวร์ในเครือข่ายของ ไทยซัมเมอร์

อัครพัชร์ เห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการบินทั้งแบบเช่าเหมา และประจำเพื่อให้ธุรกิจของ ไทยซัมเมอร์ อยู่ได้ในระยะยาว

ขนส่งสินค้าทางอากาศ

แม้ว่าสายการบินจะมุ่งเน้นขนส่งผู้โดยสาร แต่ ไทยซัมเมอร์ จะทำธุรกิจขนส่งสินค้า ด้วยการย้ายผลผลิตเกษตรของไทยจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นประตูสู่สากลของประเทศไทยใกล้กรุงเทพฯ ไปต่างประเทศ ทั้งในใต้ท้องเครื่องบินและห้องโดยสารของเครื่องบินรุ่น 737-800 เพื่อสร้างรายได้เสริม

โดยสายการบินจะเน้นการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารผ่านสนามบินอู่ตะเภา และสุวรรณภูมิเพื่อดำเนินการขนส่งสินค้า

ไทยซัมเมอร์ตั้งเป้าให้เครื่องบิน 737-800 แต่ละลำให้บริการหนึ่งเที่ยวบินต่อวัน เพื่อให้ขนผู้โดยสารได้ 103,000 คนต่อปี โดยอิงจากอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (load factor) ที่มากกว่า 80%

อย่างไรก็ตาม อัครพัชร์ แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันเครื่องบินที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว กว่า 170 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท เนื่องจากเชื้อเพลิงมีสัดส่วนมากกว่า 35% ของต้นทุนทั้งหมด

คำบรรยายภาพ

อัครพัชร์ ลี้โชติไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยซัมเมอร์: พร้อมเริ่มทำการบิน