Exclusive Interview: How Thai Vietjet Air Continued To Expand Throughout The Pandemic
Note: Thai language version of article is lower down หมายเหตุ: บทความภาษาไทยอยู่ด้านล่าง
Thai VietJet (TVA) has continued to expand its fleet throughout the pandemic, increasing from 11 Airbus A320s in January last year to 16 aircraft in September this year, says the airline’s CEO, Woranate Laprabang.
The Thai-registered carrier, which is affiliated to Vietnam’s largest low-cost carrier VietJet, is also positioned as low-cost carrier that does fare promotions regularly to generate traffic.
He says the fact the airline was relatively small, prior to the pandemic, meant it was less adversely affected by the downturn than other Thai carriers with larger fleets. The airline is set to spread its wings to tap the imminent recovery in global air travel, Woranate adds.
“Our operation’s scale and aggressive business strategy have paid off from the onset of COVID-19 nearly two years ago ,” he tells Smart Aviation Asia Pacific.
Now is an opportune time to expand VietJet’s presence in the market, adds Woranate, formerly with Thai Airways International where he served for over three decades.
Rival Thailand-registered airlines have larger operations, with more aircraft and employees, that have become burdensome and subject to business downsizing and grounding of aircraft, thus leaving a gap for TVA to fill, he explains.
TVA has so far coped with the COVID-19 effects relatively well, although its cash flow situation is tight due to revenue shortfalls resulting from flight restrictions, he says.
But the cash flow issue is manageable, thanks to stringent cost controls including employees’ reduced remuneration and new revenue that is starting to come in as more flights are resuming, the Thai CEO insists.
Flying non-stop
While some Thailand-registered airlines periodically stopped flying last year, TVA continued to fly practically every day, Woranate points out.
But TVA was confined largely to the Thailand domestic market due to international travel restrictions last year.
By late in December last year, a new wave of infections had taken its toll on TVA resulting in flight reductions, although the situation improved in February this year with the airline operating 60-80 flights per day.
Then there was a resurgence of COVID in Thailand in April with the daily caseload climbing to the all-time high of around 20,000 and nearly 200 deaths.
That led the Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT) to ground all Thailand- registered carriers between July and August.
Once the ban was lifted on 1 September, Thai airlines began to resume some services.
TVA resumed services on ten domestic routes from its base at Bangkok’s Suvarnabhumi Airport to: Chiang Mai, Chiang Rai, Phuket, Krabi, Udon Thani, Hat Yai, Khon Kaen, Nakhon Si Thammarat, Ubon Ratchathani and Surat Thani.
On 10 November, the airline will resume four cross-region domestic connections: Phuket-Chiang Mai, Phuket-Chiang Rai, Phuket-Udon Thani, and Chiang Rai-Hat Yai.
TVA today operates 35 flights per day, up from 16 last month.
The airline aims to triple daily flight numbers to 100-120 by November-December this year as demand picks up, which will restore the numbers to the same level last year, says Woranate.
International Restart
TVA is also returning to the international skies in December with two flights per week each from Bangkok to Taipei and Singapore, and a similar frequency between Phuket and Singapore.
In next year’s first-half, TVA plans to regain its international footprint in a big way as about a third of the Asian travel markets are expected to be more widely opened, says the TVA chief.
Some ten overseas ports are on TVA’s radar screen next year, but the pace of the launch of these services will depend on how quickly the countries involved grant the flight permissions, he says.
The airline’s international footprint over the next five years will cover five geographic markets defined, by TVA, as: Indochina, ASEAN, North Asia (Hong Kong, Taiwan, South Korea and Japan), China and India.
In the more immediate future, TVA expects to resume flights from the Thai capital to major ports in Vietnam, the homeland of its parent airline, probably early next year. These Vietnam destinations are: are Hanoi, Ho Chi Minh City, Da Lat, Da Nang and Phu Quoc Island.
The aggressive growth plan means that TVA will need to add several more aircraft, says Woranate.
The flight expansion will allow TVA to restore aircraft capacity utilisation rate back to 10.5 hours per day as recorded in November-December last year from just about three hours now, he says.
The resumption of these international services will return it to a mix where domestic accounts for about 30% of revenues, he adds.
More Passengers
TVA forecasts it will carry about four million passenger this year, falling short of the five-million target due to the two-month CAAT flight ban, but is up from three million last year.
TVA figures show a load factor of 64% in the first nine months of this year.
The airline aims to transport up to eight million passengers next year, five million domestic and three million international.
Woranate says it is too premature to discuss how much revenue TVA expects next year as there are still several unknown factors.
Featured Photo from TVA shows Thai Vietjet Air CEO Woranate Laprabang: Turning crisis into opportunity.
Related Stories:
EXCLUSIVE: Thai Smile’s Acting CEO Viset Sontichai Sheds Light On The Airline’s Existence, Now And In The Future (6 October 2021)
Thai Airways’ Mounting Challenges (22 September 2021)
Follow us on Facebook, Twitter and Linkedin for more news updates.
บทสัมภาษณ์พิเศษ: สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงโรคระบาด
บุญส่ง โฆษิต
สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ได้ขยายฝูงบินอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยเพิ่มขึ้นฝูงบินเครื่องแอร์บัส A320 จากจำนวน 11 ลำในเดือนมกราคมปีที่แล้ว เป็น 16 ลำในเดือนกันยายนปีนี้ นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบินกล่าว
ไทยเวียตเจ็ทแอร์ ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ภายใต้เครือของสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เวียตเจ็ทแอร์ ก็ถูกจัดตำแหน่งเป็นสายการบินราคาประหยัดที่ทำโปรโมชั่นค่าโดยสารเป็นประจำเพื่อสร้างธุรกิจ
เขากล่าวว่า เพราะสายการบินมีขนาดเล็กก่อนเกิดโรคระบาด ไทยเวียตเจ็ทแอร์ จึงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำน้อยกว่าสายการบินไทยรายอื่นที่มีฝูงบินขนาดใหญ่กว่า และไทยเวียตเจ็ทแอร์ พร้อมที่จะสยายปีกเพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศทั่วโลกที่กำลังจะกลับมาในเร็ววันนี้ นายวรเนติกล่าวเสริม
“ขนาดของการดำเนินงาน และกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงรุกของเราได้ส่งผลตอบแทนที่ดีนับตั้งแต่จากการเริ่มแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อเกือบสองปีที่แล้ว” เขากล่าวกับ Smart Aviation Asia Pacific
ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการขยายธุรกิจของไทยเวียตเจ็ทแอร์ นายวรเนติ อดีตผู้บริหารของการบินไทย ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งมากว่าสามทศวรรษ กล่าวเพิ่มเติม
สายการบินคู่แข่งที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีขนาดการดำเนินงานที่ใหญ่กว่า ด้วยเครื่องบินและพนักงานจำนวนมากกว่า กลายเป็นภาระหนัก และต้องลดขนาดธุรกิจ จอดเครื่องบิน ดังนั้น จึงทำให้เกิดช่องว่างสำหรับไทยเวียตเจ็ทแอร์เข้ามาเติม เขาอธิบาย
กล่าวได้ว่า จนถึงขณะนี้ ไทยเวียตเจ็ทแอร์ สามารถรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 ได้ค่อนข้างดี แม้ว่าสถานการณ์กระแสเงินสดจะตึงตัว เนื่องจากการขาดแคลนรายได้อันเป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านเที่ยวบิน เขากล่าว
แต่ปัญหากระแสเงินสดนั้นสามารถจัดการได้ ต้องขอบคุณการควบคุมต้นทุนที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงค่าตอบแทนของพนักงานที่ลดลง และรายได้ใหม่ที่เริ่มเข้ามาในขณะที่เที่ยวบินกลับมาทำงานอีกครั้ง เขายืนยัน
บินไม่หยุด
ในขณะที่บางสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยหยุดบินเป็นระยะๆ เมื่อปีที่แล้ว ไทยเวียตเจ็ทแอร์ ยังคงบินทุกวัน นายวรเนติ ชี้ให้เห็น
แต่ ไทยเวียตเจ็ทแอร์ ถูกจำกัดไว้เฉพาะตลาดภายในประเทศของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางระหว่างประเทศในปีที่แล้ว
ในช่วงปลายเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว การติดเชื้อระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อไทยเวียตเจ็ทแอร์ โดยต้องลดเที่ยวบินลง แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยสายการบินให้บริการ 60-80 เที่ยวบินต่อวัน
จากนั้นมีการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิดในไทยในเดือนเมษายน โดยยอดผู้ป่วยรายวันพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 20,000 ราย และเสียชีวิตเกือบ 200 ราย
ส่งผลให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท) ระงับการบินของสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมด ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
เมื่อการสั่งห้ามถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 1 กันยายน สายการบินต่างๆ ก็เริ่มให้บริการบางส่วน
โดยไทยเวียตเจ็ทแอร์ กลับมาให้บริการ 10 เส้นทางบินภายในประเทศ จากฐานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยัง เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี
ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ สายการบินจะกลับมาให้บริการเส้นทางบินข้ามภาคภายในประเทศ 4 เส้นทาง ได้แก่ ภูเก็ต-เชียงใหม่ ภูเก็ต-เชียงราย ภูเก็ต-อุดรธานี และเชียงราย-หาดใหญ่
วันนี้ ไทยเวียตเจ็ทแอร์ ให้บริการ 35 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 16 เที่ยวบินในเดือนที่แล้ว
สายการบินตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนเที่ยวบินต่อวันเป็นสามเท่าเป็น 100-120 ภายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมปีนี้ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้จำนวนเที่ยวบินกลับสู่ระดับเดียวกันในปีที่แล้ว นายวรเนติกล่าว
เริ่มบินต่างประเทศใหม่
ไทยเวียตเจ็ทแอร์ จะกลับมาสู่ท้องฟ้าสากลในเดือนธันวาคม ด้วยเที่ยวบิน 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากกรุงเทพฯ ไปไทเป จากกรุงเทพฯไปสิงคโปร์ และความถี่เดียวกันระหว่างภูเก็ตและสิงคโปร์
ในครึ่งปีแรกของปีหน้า ไทยเวียตเจ็ทแอร์ วางแผนที่จะฟื้นการครอบคลุมการบินระหว่างประเทศครั้งใหญ่ เนื่องจากประมาณหนึ่งในสามของตลาดการท่องเที่ยวในเอเชียคาดว่าจะเปิดในวงกว้างมากขึ้น
จุดบินในต่างประเทศประมาณ 10 แห่งอยู่บนหน้าจอเรดาร์ของสายการบินในปีหน้า แต่ความเร็วของการเปิดตัวบริการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วของประเทศที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตการทำการบิน เขากล่าว
ในช่วงห้าปีข้างหน้า ไทยเวียตเจ็ทแอร์ จะครอบคลุมตลาดทางภูมิศาสตร์ 5 แห่ง ได้แก่ อินโดจีน อาเซียน เอเชียเหนือ (ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) จีน และอินเดีย
ในอนาคตอันใกล้นี้ ไทยเวียตเจ็ทแอร์ คาดว่าจะกลับมาให้บริการเที่ยวบินจากเมืองหลวงของไทยไปยังเมืองสำคัญๆ ในเวียดนาม ซึ่งเป็นบ้านเกิดของสายการบินแม่ คาดว่าจะมีขึ้นในต้นปีหน้า โดยจุดหมายปลายทางในเวียดนามรวมทั้ง ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัด ดานัง และ เกาะฟูก๊วก
แผนการเติบโตเชิงรุกหมายความว่า ไทยเวียตเจ็ทแอร์ จะต้องเพิ่มเครื่องบินอีกหลายลำ นายวรเนติ กล่าว แต่ไม่ได้บอกจำนวน
การขยายเที่ยวบินจะช่วยให้ สายการบิน สามารถคืนอัตราการใช้เครื่องบินกลับไปเป็น 10.5 ชั่วโมงต่อวันตามที่บันทึกไว้ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมปีที่แล้ว จากเวลาประมาณสามชั่วโมงในขณะนี้ เขากล่าว
การเริ่มต้นใหม่ของบริการระหว่างประเทศเหล่านี้จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการบินต่างประเทศให้กลับไปสู่ในรูปแบบเดิมที่การบินในประเทศคิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด เขากล่าวเสริม
ผู้โดยสารมากขึ้น
ไทยเวียตเจ็ทแอร์ คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 4 ล้านคนในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5 ล้านคน เนื่องจากการห้ามเที่ยวบินของ กพท เป็นเวลา 2 เดือน แต่นั่นเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านคนในปีที่แล้ว
ตัวเลขของสายการบินแสดง อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (load factor) ที่ 64% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีนี้
สายการบินตั้งเป้าที่จะขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 8 ล้านคนในปีหน้า ประกอบด้วยในประเทศ 5 ล้านคน และระหว่างประเทศอีก 3 ล้านคน
นายวรเนติ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงกับรายได้ที่สายการบิน คาดว่าจะได้รับในปีหน้าเนื่องจากยังมีปัจจัยที่ไม่ทราบหลายประการ
Follow us on facebook and twitter for more news updates.